โปรดรอซักครู่..



ข้อมูลองค์กร


วิสัยทัศน์


เป็นหน่วยวิจัยด้านโรคมะเร็งในสัตว์เลี้ยงแห่งแรกของประเทศไทย และภูมิภาคอาเซียน



พันธกิจ


บูรณาการศาสตร์ด้านโรคมะเร็งในสัตว์เลี้ยงทางคลินิกสู่การปฏิบัติ วิจัย และสร้างองค์ความรู้เพื่อคุณภาพชีวิตของคนและสัตว์


หน่วยปฏิบัติการวิจัยโรคมะเร็งในสัตว์เลี้ยง  (Companion Animal Cancer Research Unit, CAC-RU) ในสัตว์  เป็นหน่วยที่บูรณาการศาสตร์ด้านพยาธิวิทยาและด้านคลินิกด้านโรคมะเร็งในสัตว์เลี้ยงที่ครบวงจรอย่างต่อเนื่อง   โดยริเริ่มโครงการคลินิคเฉพาะทางโรคมะเร็ง  (พ.ศ. 2546-ปัจจุบัน) ศูนย์มะเร็งในสัตว์  ศูนย์นวัตกรรมบริการและการเรียนการสอนสัตว์เลี้ยง  โรงพยาบาลสัตว์เล็ก  คณะสัตวแพทย ศาสตร์ จุฬาฯ (พ.ศ. 2551-2555)  โครงการขับเคลื่อนการวิจัยฯ (STAR)  “กลุ่มงานวิจัยอณูชีววิทยาโรคมะเร็งในสัตว์” (Molecular Biology Research on Animal Oncology)  (พ.ศ.  2554-2556)   และหน่วยวิจัยเพื่อพัฒนาสู่การเป็นศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทาง   หน่วยปฎิบัติการวิจัยโรคมะเร็งในสัตว์เลี้ยง  Companion Animal Cancer Research Unit, CAC-RU)  ได้รับการสนับสนุนจากกองทุนวิจัยรัชดาภิเษกสมโภช จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2557   โดยมีวิสัยทัศน์ เป็นหน่วยปฏิบัติการวิจัยโรคมะเร็งในสัตว์เลี้ยงชั้นนำในประเทศและภูมิภาค   พันธกิจของหน่วยปฏิบัติการวิจัยฯ คือการพัฒนานวัตกรรมการบำบัดรักษาโรคมะเร็งจากผลงานวิจัยและพัฒนาของหน่วยฯ  ถ่ายทอดองค์ความรู้ ในระดับบัณฑิตศึกษา ประกาศนียบัตรบัณฑิตชั้นสูง  และบริการวิชาการด้านโรคมะเร็งในสัตว์อย่างเป็นระบบเป็นแห่งแรกของประเทศไทย และเป็นศูนย์กลางของภูมิภาคในอนาคต


หน่วยปฏิบัติการวิจัยฯ  ประกอบด้วย  3  หน่วยงาน 1) หน่วยพยาธิวิทยา ภาควิชาพยาธิวิทยา 2) หน่วยชีวเคมี ภาควิชาสรีรวิทยา   3)  คลินิคโรคมะเร็ง โรงพยาบาลสัตว์เล็ก คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาฯ โดย รศ.สพ.ญ.ดร.อัจฉริยา ไศละสูต   เป็นหัวหน้าหน่วยฯ  ศ.น.พ.ดร.อภิวัฒน์  มุฑิรางกูร เป็นที่ปรึกษาหน่วยฯ  บุคลากรในหน่วยฯคณาจารย์และสัตวแพทย์จำนวน  8  คน    บุคลากรสนับสนุนงานวิจัยจำนวน 3  คน  และนิสิตบัณฑิตศึกษาจำนวน 6  คน  สำนักงานของหน่วยปฎิบัติการวิจัยฯ ตั้งอยู่ที่ หน่วยพยาธิวิทยา ภาควิชาพยาวิทยา คณะสัตวแพทยศาสตร์  จุฬาฯ

วัตถุประสงค์



เป็นหน่วยปฏิบัติการวิจัย


เป็นหน่วยปฏิบัติการวิจัย ที่พัฒนางานวิจัยทั้งในการสร้างองค์ความรู้และเชิงลึก เพื่อพัฒนาสู่การปฏิบัติด้านคลินิก ให้บริการด้านการตรวจวินิจฉัยทางคลินิกครบวงจร


เป็นแหล่งข้อมูลในระดับอ้างอิง


เป็นแหล่งข้อมูลในระดับอ้างอิง และการรักษาที่พัฒนาจากองค์ความรู้ที่ได้จากงานวิจัยของหน่วย และยังเป็นศูนย์เชื่อมโยงการศึกษาคันคว้าวิจัยด้านมะเร็งในทางการแพทย์ในระดับประเทศและนานาชาติ


เป็นหน่วยที่ให้ความร่วมมือ


เป็นหน่วยที่ให้ความร่วมมือ ในด้านการปฏิบัติ ฝึกอบรม สามารถผลิตบุคลากร บัณฑิตศึกษาประกาศนียบัตรชั้นสูงทางวิทยาศาสตร์การสัตวแพทย์คลินิก และการฝึกอบรมผู้ประกอบการวิชาชีพการสัตวแพทย์ประจำบ้านระดับวุฒิบัตรของสภาวิชาชีพในระดับประเทศและนานาชาติ

เป้าหมายของหน่วยฯ


ผู้นำด้านงานวิจัยและพัฒนา


เป็นผู้นำด้านงานวิจัยและพัฒนาด้านโรคมะเร็งในสัตว์เลี้ยง ในระดับประเทศและระดับนานาชาติ


ผลิตบัณฑิตศึกษา


เป็นหน่วยงานร่วมที่ผลิตบัณฑิตศึกษา ดุษฎีบัณฑิต และบัณฑิตระดับประกาศนียบัตรบัณฑิตชั้นสูงทางวิทยาศตร์การสัตวแพทย์ที่มีความชำนาญเฉพาะด้านโรคมะเร็งในสัตว์เลี้ยง และพยาธิวินิจฉัยให้เป็นที่ยอมรับในระดับชาติ และนานาชาติ โดยเปิดโอกาสให้นิสิตมีส่วนร่วมในการวิจัย



ผู้บุกเบิกงานวิจัย


เป็นผู้บุกเบิกงานวิจัยด้านโรคและเทคโนโลยีโรคมะเร็งในสัตว์เลี้ยง โดยเป็นผู้บุกเบิกงานวิจัยด้านโรคและเทคโนโลยีโรคมะเร็งในสัตว์เลี้ยง โดย

  • ผลิตผลงานวิจัยระดับชาติ/นานาชาติ อย่างน้อย 2 เรื่องต่อปี
  • นำเสนอผลงานในการประชุมนานาชาติ อย่างน้อยปีละ 4  เรื่อง
  • จัดฝึกอบรมถ่ายทอดองค์ความรู้แก่สัตวแพทย์ต่อปี ระดับชาติ 1 ครั้งและนานาชาติ 1 ครั้ง

หน่วยปฏิบัติการวิจัย


เป็นหน่วยปฏิบัติการวิจัยที่มีเครือข่ายความร่วมมือที่เข้มแข็ง และมีศักยภาพพัฒนาเป็นศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทาง เกี่ยวกับความรู้และข้อมูลทางวิชาการด้านสัตว์โรคมะเร็งในสัตว์เลี้ยง


ห้องปฏิบัติการและเครื่องมือวิจัย



Oncology Clinic



Pathology



Molecular



Tissue culture

Companion Animal Cancer Research Unit, CAC-RU, Faculty of Veterinary Science, Chulalongkorn University.