โปรดรอซักครู่..



ข่าวสารและกิจกรรม

28/May/2025

  • ชื่อโครงการ Advance training on Biological and Chemical sensor platform
  • หลักการและเหตุผล

การผลิตเครื่องมือ หรืออุปกรณ์สำหรับการตรวจวินิจฉัยระดับโมเลกุลทางการแพทย์และสัตวแพทย์ โดยใช้พื้นฐานของเทคโนโลยีไมโครฟลูอิดิกส์ (microfluidics technology) มีความเกี่ยวข้องกับศาสตร์หลายสาขา เช่นทางการแพทย์/สัตวแพทย์ ศาสตร์ด้านการตรึงสารชีวโมเลกุลบนพื้นผิว วิศวกรรมศาสตร์ และหน่วยงานที่สร้างและประกอบชิ้นงาน ผู้มีส่วนร่วมในการพัฒนาอุปกรณ์ต้องมีความเข้าใจในความรู้พื้นฐานและข้อจำกัดทางด้านเทคโนโลยีของแต่ละส่วนงาน เพื่อสามารถสื่อสารและส่งมอบงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ซึ่งปัจจุบันแต่ละศาสตร์มีผู้เชี่ยวชาญเฉพาะที่ยังไม่มีการบูรณาการความรู้ดังกล่าวเข้าด้วยกันเพื่อผลิตชิ้นงานตามวัตถุประสงค์ ดังนั้นการจัด Advance training on Biological and Chemical sensor platform จึงเป็นการจัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการเฉพาะภายในกลุ่มงานที่อยู่ภายใต้ความร่วมมือระหว่าง สวทช. เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ในลักษณะสหสาขา ซึ่งจะส่งผลดีต่อการดำเนินโครงการร่วมกันกับหน่วยงานอื่นๆต่อไปในอนาคต

คณะสัตวแพทย์จุฬาฯ โดยหน่วยปฏิบัติการวิจัยโรคมะเร็งในสัตว์เลี้ยง (Companion Animal Cancer research Unit; CAC-RU) ได้เข้ามามีส่วนร่วมในโครงงานวิจัยเพื่อผลิตชิ้นงานเพื่อศึกษาวิจัย ตรวจ และวินิจฉัยโรคโดยใช้เทคโนโลยีไมโครฟลูอิดิกส์ในลำดับต้นๆ ได้รับเกียรติจาก สวทช. ผ่านทางศูนย์เทคโนโลยีไมโครอิเล็กทรอนิกส์ (TMEC) ให้จัดอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อให้กลุ่มคณะทำงานมีความเข้าใจร่วมกันในความต้องการและข้อจำกัดทางการแพทย์ และสัตวแพทย์เพื่อร่วมผลิตเครื่องมือ หรืออุปกรณ์ทางการแพทย์ที่สามารถตอบโจทย์ผู้ใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

  • วัตถุประสงค์
  1. เพื่อให้กลุ่มคณะทำงานมีพื้นฐานทางการสื่อสารแบบสหวิทยา
  2. เพื่อให้กลุ่มคณะทำงานเกิดความเข้าใจข้อจำกัดทางด้านเทคโนโลยีของแต่ละส่วนงาน
  • เป้าหมาย
  1. เพื่อให้ทุกคนที่เข้าร่วมมีพื้นฐานการสื่อสารแบบสหวิทยา (terminology) และสามารถประสานงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  2. เพื่อสามารถเข้าใจข้อจำกัดทางด้านเทคโนโลยีนอกเหนือจากส่วนงานที่ต้องรับผิดชอบเพื่อทำงานร่วมกันและส่งมอบงานได้อย่างมีประสิทธิผล
  • วิธีดำเนินการ

จัดการอบรมเชิงปฏิบัติการให้แก่กลุ่มคณะทำงานเป้าหมายในหลากหลายสาขา จำนวน 20 คน

 

  • ระยะเวลาดำเนินการ

วันที่ 25 ธันวาคม 2557 เวลา 9.00-17.00 น.

  • สถานที่

ห้องประชุม 909 ห้องสมุดและศูนย์เอกสารการสัตวแพทย์ อาคาร 60 ปี คณะสัตวแพทยศาสตร์ และห้องปฏิบัติการทางชีวเคมีชั้น 11 (ห้อง 1103) อาคาร 60 ปี คณะสัตวแพทยศาสตร์

  • ผู้รับผิดชอบโครงการ

รศ.สพ.ญ.ดร.อัจฉริยา ไศละสูต หัวหน้าหน่วยปฏิบัติการวิจัยโรคมะเร็งในสัตว์เลี้ยง

๙.   คณะกรรมการจัดการประชุม

รศ.สพ.ญ.ดร.อัจฉริยา  ไศละสูต                                         ประธานจัดงาน

รศ.น.สพ.ดร.อนุเทพ  รังสีพิพัฒน์                                        กรรมการ

ผศ.สพ.ญ.ดร.กรรณาภรณ์  สุริยผล                                      กรรมการ

ผศ.น.สพ.ดร. ธีรยุทธ์ แก้วอมตวงศ์                                      กรรมการ

ผศ.สพ.ญ.ดร.ดร.สมพร  เตชะงามสุวรรณ                              กรรมการ

อ.น.สพ.ดร.ประพฤติดี  ปิยะวิริยะกุล                          กรรมการและเลขานุการ

น.สพ.เดชธชัย  เกตุพันธุ์                                        กรรมการและผู้ช่วยฯ

สพ.ญ.นงนุช   อัศววงศ์เกษม                                   กรรมการและผู้ช่วยฯ

๑๐. งบประมาณ                                                                                90000  บาท

ได้งบประมาณรายได้จาก ศูนย์เทคโนโลยีไมโครอิเล็กทรอนิกส์ (TMEC)

งบประมาณรายจ่าย

– ค่าตอบแทนคณะกรรมการดำเนินงานไม่เกินร้อยละ ๑๕ ของรายได้โครงการ          13500  บาท

– ค่าตอบแทนวิทยากร 3,000 บาท/คน *5 คน                                          15000  บาท

– ค่าตอบแทนเฉพาะงาน (ศูนย์การศึกษาฯ) ไม่เกินร้อยละ ๕ ของรายได้โครงการ*  4500          บาท

หมวดค่าใช้สอย

– ค่าใช้สอย

ค่าอาหารจัดประชุม 300 บาท/คน *20 คน                                        6000          บาท

ค่าเอกสาร 200 บาท/คน *20 คน                                                   4000          บาท

หมวดค่าวัสดุ

– ค่าวัสดุ

ค่าอุปกรณ์สิ้นเปลือง                                                                  15000  บาท

ค่าสารเคมี                                                                              7500          บาท

ค่าประชาสัมพันธ์ เช่นแผ่นพับ เว๊ปไซต์ เป็นต้น)                                    6000          บาท

หมวดค่าสาธารณูปโภค (ไม่ต่ำกว่าร้อยละ ๕ ของรายได้โครงการ)                     5000          บาท

– ค่าไฟฟ้า

– ค่าไปรษณีย์

หมวดเงินอุดหนุนวิชาการ (ไม่ต่ำกว่าร้อยละ ๑๐ ของรายได้โครงการ)                9000          บาท

หมวดสำรองทั่วไป (ไม่ต่ำกว่าร้อยละ ๕ ของรายได้โครงการ)                          4500          บาท

รวมค่าใช้จ่ายทั้งสิ้น                                                                            90000  บาท

 

 

๑๑.  ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

ร่างหลักสูตร STEM: Advance training on Biological and Chemical sensor platformในการจัดอบรมแบบสหวิทยาสำหรับนักศึกษาและบุคคลทั่วไป

    ๑๒. การบูรณาการโครงการบริการวิชาการ (โปรดทำเครื่องหมาย √ หน้าข้อการนำโครงการบริการ

วิชาการไปบูรณาการ และโปรดระบุรายละเอียด)

ð การนำโครงการบริการวิชาการครั้งนี้ไปใช้กับงานการเรียนการสอน

◄ รายวิชา (โปรดระบุ)………………………………………………..

◄ รหัสวิชา (โปรดระบุ)………………………………………………..

ð การนำโครงการบริการวิชาการครั้งนี้ไปพัฒนาเป็นงานวิจัย

■ หัวข้องานวิจัย (โปรดระบุ)

๑. การพัฒนาอุปกรณ์เพื่อตรวจหาตัวอ่อนพยาธิหัวฝจด้วยเทคนิคไมโครฟลูอิดิกส์

๒. การพัฒนาอุปกรณ์ที่อาศัยหลักการของของไหลจุลภาคเพื่อแยกและดักจับเซลล์เดี่ยวและเซลล์มะเร็ง

■ แหล่งทุนที่ขอ (โปรดระบุ)

เงินอุดหนุนโครงการวิจัยเงินทุนคณะสัตวแพทยศาสตร์

กองทุนรัชดาภิเษกสมโภช  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

งบประมาณแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๕๘

■ ช่วงเวลาดำเนินการวิจัย (โปรดระบุ)  ๒๕๕๘

ð การนำโครงการบริการวิชาการครั้งนี้บูรณาการทั้งการเรียนการสอนและการวิจัย จำนวน ๓  โครงการ

  • โครงการวิจัย หัวข้อเรื่อง ระดับการแสดงออกของยีนออกโฟร์ นาน๊อก และซ๊อกทู ในเซลล์ต้นกำเนิดเนื้องอกของเนื้องอกผิวหนังชนิดมาสต์เซลล์ในสุนัข เงินทุนวิจัยเพชรชมพู ทุนวิจัยรัชดาภิเษกสมโภช ( มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๗- พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๕๙) อยู่ระหว่างดำเนินโครงการวิจัย
  • โครงการวิจัย หัวข้อเรื่อง การพัฒนาอุปกรณ์ในระบบของไหลจุลภาค สำหรับคัดแยกและจัดเก็บเซลล์มะเร็งชนิดกลมของสุนัขให้อยู่ในรูปเซลล์เดี่ยว เงินทุนวิจัยงบประมาณแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๕๘ (ตุลาคม ๒๕๕๗ -กันยายน ๒๕๕๘ ) อยู่ระหว่างดำเนินโครงการวิจัย
  • โครงการวิจัย หัวข้อเรื่อง การพัฒนาเครื่องมือขนาดเล็กในการแยกเซลล์มะเร็งให้เป็นเซลล์เดี่ยวและรักษาโรคมะเร็ง เงินทุนวิจัย โครงการยุทธศาสตร์การวิจัยเชิงลึก (CU-57-004-HR) คลัสเตอร์สุขภาพ ทุนวิจัยรัชดาภิเษกสมโภช พ.ศ. ๒๕๕๗-๒๕๕๘ (พฤศจิกายน ๒๕๕๗- ตุลาคม  ๒๕๕๘) อยู่ระหว่างดำเนินโครงการวิจัย

 

  • เมื่อจบโครงการฯ ให้หัวหน้าโครงการบริการวิชาการจัดทำรายงานสรุปผลโครงการ โดยมีหัวข้อดังนี้
  • สรุปผลการดำเนินงานโครงการบริการวิชาการ
  • สรุปรายงานการใช้จ่ายเงิน
  • แบบประเมินผลโครงการบริการวิชาการ (ความพึงพอใจระดับคะแนน ๕ คะแนน

**ส่งรายงานที่ศูนย์การศึกษาต่อเนื่อง สำนักคณบดี ชั้น ๓ อาคาร ๕๐ ปี สัตวแพทยศาสตร์ ภายใน ๗ วัน หลังสิ้นสุดโครงการ**

 

 

 

ร่างกำหนดการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ

วันที่ 25 พฤศจิกายน 2557

ผู้ให้โจทย์ (คณะแพทย์ศิริราช และ คณะสัตวแพทย์ จุฬาฯ)

9.00 – 9.15 น.            มุมมองทางด้านการแพทย์กับเทคโนโลยีไมโครฟลูอิดิกส์

โดย      รศ.สพ.ญ.ดร. อัจฉริยา ไศละสูต

ภาควิชาพยาธิวิทยา  คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาฯ

9.15 – 9.45 น.            ความรู้พื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับ การใช้ประโยชน์ของ Ag/Ab กับการตรวจวินิจฉัยโรค                           ทางด้านการแพทย์

โดย      ทีมวิจัยของแพทย์ศิริราช คณะแพทย์ศิริราช

9.45 – 10.15 น.          ความรู้และวิธีการพื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับการตรวจทางพยาธิวิทยาในทางการแพทย์

โดย      ทีมวิจัยของสัตวแพทย์จุฬาฯ

10.15 – 10.30 น.         ซักถาม และรับประทานอาหารว่าง

10.30 – 12.00 น.         ภาคปฏิบัติเกี่ยวกับเทคนิค thick film smears ของการตรวจวินิจฉัยพยาธิในเลือด                        ร่วมกับเทคนิคอื่นๆ ที่จำเป็น

โดย      ทีมวิจัยของสัตวแพทย์จุฬาฯ

12.00 – 13.00 น.         รับประทานอาหารกลางวัน

13.00 – 15.00 น.         การใช้ไมโครฟลูอิดิกส์ชิพกับการตรวจวินิจฉัยจุลชีพในเลือด

โดย      ทีมวิจัยของสัตวแพทย์จุฬาฯ

15.00 – 15.30 น.         สรุปผลการดำเนินงาน

15.30 – 17.00 น.         ระดมสมองเกี่ยวกับโครงการวิจัย ที่เกิดภายใต้ความร่วมมือระหว่าง สวทช. และ

ศิริราช

17.00 น.                   ปิดการอบรม


28/May/2025

การแถลงข่าว
งานประชุมวิชาการคณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ครั้งที่ 14
(14th Chulalongkorn University Veterinary Conference, CUVC 2015)
วันจันทร์ที่ 20 เมษายน 2558
รอยัลพารากอนฮอลล์ 3 ชั้น 5 ศูนย์การค้าสยามพารากอน

  • 10.30 น. ลงทะเบียน
  • 11.00 น. การแถลงข่าวเรื่อง นวัตกรรมการพัฒนาอุปกรณ์ในการคัดแยกเซลล์มะเร็ง โดย
    • รศ.สพ.ญ.ดร.อัจฉริยา ไศละสูต หัวหน้าหน่วยปฏิบัติการวิจัยโรคมะเร็งในสัตว์เลี้ยง ภาควิชาพยาธิวิทยา คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
    • ผศ.ดร. อลงกรณ์ พิมพ์พิณ
      ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
    • ดร. วุฒินันท์ เจียมศักดิ์ศิริ
      ศูนย์เทคโนโลยี ไทยไมโครอิเล็กทรอนิกส์ (TMEC) ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์
      และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ สานักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
    • สาธิตการใช้อุปกรณ์ และตอบข้อซักถาม
  • 12.00 น. ปิดการแถลงข่าว

ข้อมูลเพิ่มเติม

หน่วยปฏิบัติการวิจัยโรคมะเร็งในสัตว์เลี้ยง คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาฯ
โทร 02-218-9621, 081-832-1342


28/May/2025

ระยะเวลาการดำเนินงานและสถานที่

การบริการตรวจกรองโรคมะเร็งเบื้องต้นและให้คำปรึกษาฟรี

ทุกวันศุกร์ เวลา 13.00 – 15.00  น. ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม – เดือนธันวาคม 2550
(เริ่มวันศุกร์ที่  20 กรกฎาคม 2550 –  วันศุกร์ที่ 28  ธันวาคม  2550)
คลินิกโรคมะเร็ง โรงพยาบาลสัตว์เล็ก คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาฯ

ขั้นตอนการดำเนินการ

เจ้าของสัตว์นำสัตว์ป่วยสงสัยเป็นโรคมะเร็ง หรือ สัตว์ทั่วไปที่มีอายุเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็ง ได้แก่

  1.   สุนัขและแมวที่มีอายุตั้งแต่  7  ปีขึ้นไป
  2. เมื่อสัตว์เลี้ยงมีพฤติกรรมเปลี่ยนไปจากปกติ อ้วนขึ้นหรือผอมลงอย่างผิดสังเกตุ ซึม เบื่ออาหาร เยื่อเมือกซีด  ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะผิดปกติ
  3. กรณีที่พบก้อนผิดปกติบริเวณผิวหนัง หรือตามลำตัว ซึ่งท่านสามารถสังเกตุเห็นได้ง่าย แม้ว่าจะเป็นก้อนขนาดเล็ก ควรรีบพาไปพบสัตวแพทย์เพื่อทำการตรวจวินิจฉัย

ท่านสามารถนำสัตว์เลี้ยงของท่านเข้าร่วมโครงการโดย

  1. เจ้าของสัตว์นำสัตว์เลี้ยงของท่านมาพบสัตวแพทย์ของโรงพยาบาลสัตว์เล็กของคณะฯ และสัตวแพทย์ให้คำแนะนำว่าควรตรวจโรคมะเร็ง
  2. หรือท่านสงสัยว่าสัตว์เลี้ยงของท่านน่าจะเป็นมะเร็ง  รวมทั้งต้องการตรวจกรองโรคมะเร็งเบื้องต้น สามารถโทรติดต่อเข้าร่วมโครงการได้ที่คลินิกเฉพาะทาง โรงพยาบาลสัตว์เล็ก คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาฯ  โทร 02-218-9766 เจ้าหน้าที่จะลงทะเบียนรับสัตว์ป่วย ชื่อที่อยู่เจ้าของสัตว์ เบอร์โทรศัพท์ ในสมุดนัดของโครงการฯนัดวันละ 1-5 ราย โดยจะบริการทุกวันศุกร์ เวลา 00-15.00 น. ตั้งแต่เดือนวันศุกร์ที่ 20 กรกฏาคม- วันศุกร์ที่ 28 ธันวาคม 2550 ท่านสามารถนัดได้ตามเวลาที่ท่านสะดวก หากต้องการเลื่อนนัดหรือยกเลิกกรุณาติดต่อก่อนวันนัด 1 วัน

สัตว์เลี้ยงของท่านจะได้รับการบริการจากคณาจารย์และสัตวแพทย์คลินิกโรคมะเร็งอะไรบ้าง

  1. ตรวจสุขภาพทั่วไป
  2. ให้คำแนะนำ
  3. การตรวจกรองโรคมะเร็งเบื้องต้น เช่น การตรวจทางเซลล์วิทยา (พิจารณาตามความเหมาะสม)                                                       

ผลการตรวจกรองโรคมะเร็ง โครงการฯจะโทรแจ้งแก่เจ้าของสัตว์ และให้คำแนะนำคลินิกโรคมะเร็งหรือคลินิกอื่นๆปกติต่อไป

 

ผู้รับผิดชอบโครงการ

  • รศ. สพ.ญ. ดร.อัจฉริยา ไศละสูต โทร  02-218-9616
  • รศ. น.สพ. ดร. อนุเทพ รังสีพิพัฒน์  โทร 02-218-9618
  • คณาจารย์และสัตวแพทย์ คลินิกโรคมะเร็ง

 

ขอเชิญร่วมกิจกรรมในงานเฉลิมพระเกียรติเนื่องในโอกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเจริญพระชนมายุ 80 พรรษา  5  ธันวาคม 2550
นำสัตว์เลี้ยงของท่านตรวจกรองโรคมะเร็งเบื้องต้น ฟรี
ในโครงการ  “สัตว์เลี้ยงน้อยใหญ่ ห่างไกลโรคมะเร็ง”
ทุกวันศุกร์ เวลา 13.00-15.00 น.
เดือน กรกฎาคม – ธันวาคม  2550
ที่คลินิกโรคมะเร็ง โรงพยาบาลสัตว์เล็ก คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาฯ
สนใจติดต่อสอบถามรายละเอียด ได้ที่ โทร 02-218-9766  ทุกวันเวลาราชการ

 


333-e1498132497255.png
28/May/2025

โครงการวิจัยประยุกต์ เรื่อง การพัฒนาอุปกรณ์ในระบบของไหลจุลภาคสาหรับคัดแยกและจัดเก็บเซลล์มะเร็งชนิดกลมของสุนัขให้อยู่ในรูปเซลล์เดี่ยว”

ทุนอุดหนุนโครงการวิจัย เงินอุดหนุนทั่วไปจากรัฐบาล ประจำปีงบประมาณ 2558 สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์

หน่วยงานดำเนินการวิจัย

  1. 1. หน่วยปฏิบัติการวิจัยโรคมะเร็งในสัตว์เลี้ยง คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  2. 2. ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  3. 3. ศูนย์เทคโนโลยีไทยไมโครอิเล็กทรอนิกส์ (TMEC) ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ สานักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ

หัวหน้าโครงการวิจัย

รศ.สพ.ญ.ดร.อัจฉริยา ไศละสูต หน่วยปฏิบัติการวิจัยโรคมะเร็งในสัตว์เลี้ยง ภาควิชาพยาธิวิทยา คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ผู้ร่วมวิจัย

  • อ.น.สพ.ดร. ประพฤติดี ปิยะวิริยะกุล  หน่วยปฏิบัติการวิจัยโรคมะเร็งในสัตว์เลี้ยง หน่วยชีวเคมี ภาควิชาสรีรวิทยา คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • น.สพ. เดชธชัย เกตุพันธุ์  หน่วยปฏิบัติการวิจัยโรคมะเร็งในสัตว์เลี้ยง หน่วยชีวเคมี ภาควิชาสรีรวิทยา คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ผศ.ดร. อลงกรณ์ พิมพ์พิณ ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ผศ.ดร.วีระยุทธ ศรีธุระวานิช ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ดร. วุฒินันท์ เจียมศักดิ์ศิริ ศูนย์เทคโนโลยี ไทยไมโครอิเล็กทรอนิกส์ (TMEC)  ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ สานักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
  • นาย วิศรุต ศรีพุ่มไข่ ศูนย์เทคโนโลยี ไทยไมโครอิเล็กทรอนิกส์ (TMEC)  ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ สานักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
  • นาย วิน บรรจงปรุ ศูนย์เทคโนโลยี ไทยไมโครอิเล็กทรอนิกส์ (TMEC)  ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ สานักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
  • นาย จักรพงษ์ ศุภเดช ศูนย์เทคโนโลยี ไทยไมโครอิเล็กทรอนิกส์ (TMEC)  ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ สานักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
  • นาย จิรวัฒน์ จันต๊ะวงค์ ศูนย์เทคโนโลยี ไทยไมโครอิเล็กทรอนิกส์ (TMEC)  ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ สานักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
  • นาย ชาญเดช หรูอนันต์ ศูนย์เทคโนโลยี ไทยไมโครอิเล็กทรอนิกส์ (TMEC)  ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ สานักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ

บทสรุปงานวิจัย

การศึกษาชีววิทยาของเซลล์ในระดับเซลล์เดี่ยวมีความสาคัญ เพราะความหลากหลายของเซลล์ เป็นปัจจัยหลักที่ทาให้การแปรผลการศึกษามีความคลาดเคลื่อน การศึกษาเซลล์ในปัจจุบันยังคงใช้วิธีการและเทคนิคที่วัดผล เป็นค่าเฉลี่ยของเซลล์ในกลุ่มประชากรต่างๆที่อยู่ในเนื้อเยื่อที่ศึกษา ด้วยเทคนิคและวิธีการที่มีอยู่ในปัจจุบันทาให้การศึกษาเซลล์ในระดับเซลล์เดี่ยว ยังคงไม่สามารถทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะเรื่องของการคัดแยกเซลล์ให้เป็นเซลล์เดี่ยวๆ แยกออกจากเซลล์ข้างเคียงและได้เซลล์ยังมีชีวิตอยู่ การพัฒนาอุปกรณ์ระบบของไหลจุลภาค ที่สามารถคัดแยกเซลล์ตัวอย่างให้เป็นเซลล์เดี่ยวๆได้ จึงเป็นแนวทางในการศึกษากลไกของโรคมะเร็งได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้การรักษาโรคมะเร็งยังเป็นประเด็นที่สำคัญและมีความจำเป็นที่จะต้องพัฒนาวิธีใหม่ๆในการรักษาที่มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น

วัตถุประสงค์

เพื่อพัฒนาอุปกรณ์ในระบบของไหลจุลภาค ที่มีความสามารถในการคัดแยกและกระจายเซลล์มะเร็ง โดยในการศึกษาครั้งนี้ใช้รูปแบบของเซลล์มะเร็งชนิดกลม จากก้อนเนื้องอกมาสต์เซลล์ที่ผิวหนังในสุนัข ที่จัดเก็บด้วยวิธีการเจาะดูดเจาะด้วยเข็มเล็กจากก้อนเนื้องอกของสุนัข ให้อยู่ในลักษณะของเซลล์เดี่ยวๆและแยกออกจากเซลล์อื่นๆข้างเคียงได้อย่างมีประสิทธิภาพ  เซลล์ที่คัดแยกได้นั้นจะต้องยังมีชีวิต และมีคุณสมบัติสามารถนาไปใช้ศึกษาถึงคุณลักษณะและพฤติกรรมทางชีวภาพของเซลล์เหล่านี้ต่อไปได้

วิธีการวิจัย

  1. การออกแบบลักษณะทางเรขาคณิตของท่อโค้งระดับจุลภาค
  2. การพัฒนาและสร้างอุปกรณ์ในระบบของไหลจุลภาค
  3. การเก็บเซลล์มะเร็งจากสัตว์ป่วยและทดลองแยกในอุปกรณ์
  4. การตรวจการจัดแยกเซลล์เดี่ยวในอุปกรณ์ และทดสอบการมีชีวิตอยู่ของเซลล์มะเร็ง

ขั้นตอนการดำเนินงาน

  1. ทำการออกแบบอุปกรณ์ระบบของไหลจุลภาค โดยใช้แบบมาตรฐานที่ได้รับรายงานมาเป็นแบบมาตรฐานและทาการคำนวณค่าปัจจัยต่างๆ ที่มีผลต่อการจัดเรียงตัว โดยในการออกแบบจะมีการจำลองพฤติกรรมการไหลและผลของการไหลต่ออนุภาคเป้าหมายและผลลัพธ์ โดยเครื่องคอมพิวเตอร์ (computational simulation of the flow) และซอฟท์แวร์ทางวิศวกรรมศาสตร์เพื่อให้ได้อุปกรณ์ที่คาดว่าจะเกิดการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
  2. ทำการสร้างอุปกรณ์ที่ใช้ในการศึกษาจากต้นแบบ (device fabrication) ที่ได้รับการออกแบบและทาการวิเคราะห์การไหลไว้แล้ว มาสร้างเป็นตัวอุปกรณ์ โดยต้นแบบที่สร้างไว้จะถูกถ่ายแบบลงบนแผ่นเวเฟอร์ (wafer) ที่ใช้สาหรับออกแบบอุปกรณ์อิเลคทรอนิคส์ชนิดวงจรรวม (integrated circuit หรือ IC) หลังจากนั้นจะถูกกัดเซาะให้เกิดร่อง (etching) ซึ่งจะได้แม่พิมพ์สาหรับสร้างชิ้นงานขึ้นมา โดยใช้โพลีเมอร์ polydimethyl siloxane (PDMS) ที่มีความยืดหยุ่นและใสแบบกระจก เทลงบนแม่พิมพ์
  3. ทำการศึกษาการทำงานของอุปกรณ์ในการคัดแยกเซลล์ โดยในช่วงแรกจะใช้ อนุภาคโพลีเมอร์ระดับจุลภาค (microparticles) ที่ขนาดต่างๆ เป็นตัวทดสอบประสิทธิภาพของอุปกรณ์แล้วจึงใช้เซลล์ มะเร็งชนิดกลมของสุนัข สาหรับการทดสอบในช่วงต่อไป
  4. ทำการตรวจสอบสภาพความมีชีวิตอยู่ของเซลล์ที่คัดแยกได้ (Vitality and viability evaluation) เป็นการศึกษาเพื่อยืนยันว่าเซลล์ที่ถูกคัดแยกและจัดเก็บในไมโครเวล์นั้นยังคงสภาพความมีชีวิตอยู่ ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการทดสอบ

 

 

รูปที่ 1   การติดตั้งชุดอุปกรณ์คัดแยกเซลล์

 

รูปที่ 2    การนำเซลล์เข้าอุปกรณ์คัดแยกเซลล์มะเร็ง

รูปที่ 3   แสดงอุปกรณ์ในระบบของไหลจุลภาค

  

รูปที่ 4  ภาพจากกล้องจุลทัศน์แสดงเซลล์มะเร็งชนิดกลมในสุนัขก่อนที่จะนำไปทำการคัดแยกด้วยอุปกรณ์  

 

 

ประโยชน์ที่ได้รับจากนวัตกรรม

ผลที่คาดว่าจะได้รับจากการศึกษาในครั้งนี้คือ การประยุกต์ใช้องค์ความรู้ระบบของไหลจุลภาคมาออกแบบอุปกรณ์ที่สามารถใช้แยกเซลล์มะเร็งออกจากกันเป็นเซลล์เดี่ยวๆ และแยกออกจากเซลล์ข้างเคียงได้อย่างถูกต้องและสมบูรณ์ รวมทั้งเซลล์มะเร็งที่เก็บแยกได้จะต้องมีชีวิตอยู่ คงคุณสมบัติของเซลล์มะเร็งและสามารถเจริญเติบโตต่อไปได้ และสามารถนำมาใช้ศึกษาชีววิทยาของเซลล์มะเร็งนำรูปแบบไปศึกษาต่อยอดองค์ความรู้ด้านโรคมะเร็ง ในการรักษาและป้องกันโรคมะเร็งในทางแพทย์ในอนาคต

ข้อมูลเพิ่มเติม

รศ.สพ.ญ.ดร.อัจฉริยา ไศละสูต
หัวหน้าหน่วยปฏิบัติการวิจัยโรคมะเร็งในสัตว์เลี้ยง ภาควิชาพยาธิวิทยา คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาฯ
Email: achariya.sa@chula.ac.th
โทร 02-218-9621, 081-832-1342 โทรสาร 02-252-0779


Companion Animal Cancer Research Unit, CAC-RU, Faculty of Veterinary Science, Chulalongkorn University.